ข้อมูลทางเทคนิค Technical Information


วัตถุดิบกลุ่มเหล็ก

  • เหล็กคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steel) : โดยทั่วไปแล้วมีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนน้อยกว่า 0.25% มีคุณสมบัติที่โดดเด่นในการขึ้นรูปและความทนทาน อีกทั้งยังสามารถใช้ในงานขึ้นรูปโลหะ และเชื่อมโลหะ ได้เป็นอย่างดี และ มีราคาที่ย่อมเยาว์กว่าหากเปรียบเทียบกับวัตถุดิบเหล็กชนิดอื่นๆ เหล็กคาร์บอนต่ำมีค่า Tensile Strength อยู่ระหว่าง 60,000 psi ถึง 80,000 psi (410 MPa ถึง 550 MPa) สินค้าสกรูน็อตทุกประเภทที่มีเกรดความแข็งที่ 4.6, 4.8 และ 5.8 มักจะผลิตจากเหล็กคาร์บอนต่ำ เช่น เหล็กเกรด 1006, 1010, 1016, 1018, 1022, และ 1035 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุดิบชนิดนี้
  • เหล็กคาร์บอนปานกลาง (Medium Carbon Steel) : มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนอยู่ระหว่าง 0.25% ถึง 0.60% เหล็กคาร์บอนปานกลางโดยเหล็กชนิดนี้สามารถนำไปผ่านกระบวนการชุบแข็ง (Heat Treatment) เพื่อเพิ่มความแข็งได้ และมีค่า Tensile Strength อยู่ระหว่าง 100,000 psi ถึง 120,000 psi (690 MPa ถึง 830 MPa)
    สลักภัณฑ์ที่มีเกรดความแข็งที่ 8.8 ผลิตจากเหล็กคาร์บอนปานกลาง ซึ่งได้แก่ เหล็กเกรด 1038, 1541, 5132 และ 5135
  • เหล็กกล้าผสม หรือ เหล็กอัลลอย (Alloy Steel) : เป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของ โบรอน, แมกกานีส,โครเมี่ยม, ซิลีคอน และธาตุอื่นๆ เพื่อเพิ่มความสามารถของเหล็กอัลลอยทางด้านความแข็ง, การขึ้นรูป, ความเหนียว และทนทานในอุณหภูมิสูงเหล็กชนิดนี้มีค่า Tensile Strength ที่ มากกว่า 150,000 psi (1034 MPa) เหล็กอัลลอยถูกใช้ในการผลิตสินค้าที่มีความแข็งเกรด 10.9 และ 12.9

วัตถุดิบกลุ่มสแตนเลส

เหล็กสแตนเลส (Stainless Steel) : สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ออสเทไนติก (Austenitic), มาร์เทนซิติก (Martensitic), และเฟอร์ริติก (Ferritic)

  • สแตนเลสออสเทไนติก (Austenitic Stainless Steel) : มีส่วนผสมของโครเมี่ยมที่ 15% - 20% และ นิคเกิลที่ 5% - 19% ที่ให้คุณสมบัติในการทนต่อการกัดกร่อนของสนิมในระดับที่สูงกว่าเหล็กสแตนเลส อีก 2 ชนิด ค่า Tensile Strength ของสแตนเลสออสเทไนติก มีความผันแปรที่ระหว่าง 72,000 psi ถึง 115,000 psi (500 MPa ถึง 800 MPa) เหล็กสแตนเลสเกรด 18-8 นั้นเป็นเกรดที่ใช้อย่างแพร่หลายใน การผลิตสกรูน็อต โดยมีโครเมี่ยมเฉลี่ย 18% และ นิคเกิล 8%โดยสแตนเลสในกลุ่มประกอบไปด้วย สแตนเลสเกรด 302, 303, 304, 316
  • สแตนเลสมาร์เทนซิติก (Martensitic Stainless Steel) : ประกอบด้วยโครเมี่ยม 12% - 18% ความสามารถในการชุบแข็งด้วยความร้อนแต่มีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะนักในงานเชื่อมโลหะ อีกทั้งยังมี คุณสมบัติทางแม่เหล็ก สแตนเลสชนิดนี้มักถูกใช้งานในสภาวะแวดล้อมที่ก่อเกิดสนิมระดับปานกลาง เหล็กสแตนเลสในกลุ่มนี้ได้แก่ เกรด 410, 416, 420, และ 431
  • สแตนเลสเฟอร์ริติก (Ferritic Stainless Steel) : โครเมี่ยม 15% - 18% ที่มีความเป็นแม่เหล็กคล้ายกับสแตนเลส มาร์เทนซิติกแต่ไม่สามารถนำไปชุบแข็ง หรือใช้งานงานเชื่อมโลหะได้ เหล็กสแตนเลสในกลุ่มนี้ได้แก่ เกรด 430 และ 430F

Property Class od Stainless Steel Fasteners

Technical Thread Table

คุณสมบัติทางกล (Mechanical Properties)

ตามมาตรฐาน ISO 898 ส่วนที่ 1
(สมบัติทางกลถูกกำหนดไว้สำหรับการทดสอบที่อุณหภูมิห้อง)

  • a ค่าไม่ใช้สำหรับการยึดโครงสร้าง
  • b สำหรับการยึดโครงสร้าง d ≳ M12.
  • c ค่าทางชื่อเรียกถูกกำหนดเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ของระบบการกำหนดชื่อสำหรับชั้นคุณสมบัติ ดูข้อ 5
  • d ในกรณีที่ความแข็งแกร่งขั้นต่ำ ReL ไม่สามารถกำหนดได้ สามารถวัดความเครียดที่ 0.2% ของการยืดต่อปริมาณ Rp0,2
  • e สำหรับชั้นคุณสมบัติ 4.8, 5.8 และ 6.8 ค่าสำหรับ Rpf min กำลังอยู่ในระหว่างการสอบสวน ค่าปัจจุบันได้รับสำหรับการคำนวณอัตราความเครียดที่พิสูจน์เท่านั้น พวกเขาไม่ใช่ค่าทดสอบ
  • f การโหลดที่พิสูจน์ถูกกำหนดไว้ในตาราง F.006
  • g ความแข็งที่กำหนดไว้ที่ปลายของตัวยึดควรเป็น 250 HV, 238 HB หรือ 99.5 HRB สูงสุด
  • h ความแข็งของผิวต้องไม่เกิน 30 จุดวิกเกอร์เหนือความแข็งแกร่งของแกนของตัวยึดเมื่อการกำหนนดความแข็งของผิวและความแข็งของแกนทำด้วย HV 0.3
  • i การเพิ่มความแข็งที่ผิวซึ่งแสดงว่าความแข็งของผิวเกิน 390 HV ไม่เป็นที่ยอมรับ
  • j การเพิ่มความแข็งที่ผิวซึ่งแสดงว่าความแข็งของผิวเกิน 435 HV ไม่เป็นที่ยอมรับ
  • k ค่าถูกกำหนดที่อุณหภูมิการทดสอบ -20 ℃
  • l ใช้กับ d ≳ 16 mm
  • m ค่าสำหรับ KV กำลังอยู่ในระหว่างการสอบสวน
  • n แทนที่ ISO 6157-1, ISO 6157-3 อาจใช้ได้ตามข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อ

การชุบผิวโลหะ

  • การชุบซิงค์ (Zinc Electroplating) : การชุบซิงค์ด้วยไฟฟ้าเป็นที่นิยมมาก และมีราคาค่าชุบที่ถูก สำหรับการชุบผิวสินค้าประเภทสกรูน็อตเหล็กสำหรับงานภายในอาคาร หรือพื้นที่แห้ง ซึ่งตัวชั้นซิงค์นั้นทำหน้าที่ในการปกป้องของชิ้นงานจากการกัดกร่อนของสนิม โดยอายุการใช้งานของสินค้าที่ผ่านชุบซิงค์ด้วยไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นเคลือบสังกะสีที่ทั่วไป แล้วจะอยู่ประมาณ 2 – 5 ไมครอน การชุบซิงค์สามารถทำได้ 3 สีได้แก่ ซิงค์ขาว, ซิงค์รุ้งทอง, และซิงค์ดำ
  • การชุบฮอตดิพกัลวาไนซ์ (Hot Dip Galvanizing) : การชุบซิงค์ด้วยไฟฟ้าเป็นที่นิยมมาก เป็นกระการชุบที่นำสกรูน็อตจุ่มลงไปในสังกะสีหลอมเหลวเพื่อสร้างชั้นสังกะสี-เหล็กที่ผิวภายนอก ช่วยการปกป้องชิ้นงานจากการ กัดกร่อนได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ซึ่งมีอายุการใช้งานได้นานมากกว่า 50 ปีในสภาวะแวดล้อมปกติ จึงมักใช้สำหรับชิ้นงานเหล็กโครงสร้างต่างๆ ภายนอกอาคารลักษณะทั่วไปมีสีเทาด้านๆ